หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตของพืชและสัตว์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตของพืชและสัตว์
➤ เรื่องที่ 1 การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์
➤ เรื่องที่ 2 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์
➤ เรื่องที่ 3 ประโยชน์ของพืชและสัตว์
1) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เราสามารถพบได้ทุกหนทุกแห่ง พืชสามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยอาศัยสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต นักเรียนทราบไหมว่าพืชต้องการสิ่งใดในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต
ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชมี 4 ประการ ได้แก่ อาหาร น้ำ อากาศ และแสงแดด
- อาหาร : พืชต้องการธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต และทำให้พืชแข็งแรง โดยรากพืชจะดูดซึมแร่ธาตุเหล่านี้ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น
- น้ำ : พืชต้องการน้ำในการดำรงชีวิต เพื่อช่วยละลายแร่ธาตุในดิน ทำให้รากพืชดูดซึมและลำเลียงแร่ธาตุเหล่านั้นไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นพืชได้ นอกจากนี้ ต้นพืชยังต้องการน้ำเพื่อใช้ในการสร้างอาหารอีกด้วย
- อากาศ : พืชต้องการอากาศในการดำรงชีวิต เพราะต้นพืชจำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับคนและสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้พืชต้องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสร้างอาหารด้วย
- แสงแดด : พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความพิเศษแตกต่างจากคนและสัตว์ คือ พืชสามารถสร้างอาหารเองได้ เมื่อพืชได้รับแสงแดด แสงแดดจะกระตุ้นให้พืชสร้างสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ ทำให้พืชสร้างอาหารได้และอาหารนี้จะถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของลำต้น
วิดีโอประกอบการสอน
ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช
ปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช
2) ปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสัตว์
สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการอาหาร น้ำ และอากาศ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต เช่นเดียวกับพืช
- อาหาร สัตว์ต่าง ๆ ต้องกินอาหารเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้
สัตว์แต่ละชนิดจะกินอาหารแตกต่างกัน สัตว์บางชนิดกินพืชเป็นอาหาร
สัตว์บางชนิดกินสัตว์ด้วยกันเองเป็นอาหาร
และสัตว์บางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ถ้าสัตว์ต่าง ๆ
ไม่ได้กินอาหารเป็นเวลานาน ๆ ก็จะตายในที่สุด
o ม้าลายกินหญ้าเป็นอาหาร
o เสือกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร
o นกบางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร
- น้ำ
สัตว์ทุกชนิดต้องการน้ำในการดำรงชีวิตสัตว์ต้องกินน้ำเพื่อให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ
เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานาน ๆ สัตว์ก็จะตาย
- อากาศ
สัตว์ทุกชนิดต้องการอากาศหายใจ เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้
เพราะแก๊สออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศมีความจำเป็นต่อร่างกายของสัตว์
สัตว์ที่อยู่บนบกจะหายใจโดยใช้อากาศที่อยู่รอบตัว ส่วนสัตว์ที่
อยู่ในน้ำจะหายใจโดยใช้แก๊สออกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำ
สัตว์แต่ละชนิดกินอาหารแตกต่างกัน
ซึ่งสามารถจำแนกสัตว์ได้ตามลักษณะอาหารที่กินได้ 3 ประเภท
คือ
1. สัตว์กินพืช เช่น ม้า วัว ควาย
2. สัตว์ที่กินสัตว์อื่น เช่น เสือ จระเข้
นกกระจอก
3. สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์อื่น เช่น เป็ด ไก่ แมว
1) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตจึงมีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้พืชแต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ
ไม่เหมือนกัน
สิ่งต่าง ๆ
ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน สัตว์ และพืช เรียกว่า สิ่งเร้า
พืชแต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแตกต่างกัน
การตอบสนองต่อสิ่งเร้า ช่วยให้พืชมีชีวิตรอดอยู่ได้ สิ่งเร้าที่พืชมีชีวิตรอดอยู่ได้
สิ่งเร้าที่พืชมีการตอบสนองมีหลายประการ เช่น
o การตอบสนองต่อแสง
พืชจะมีการตอบสนองต่อแสง
โดยมีการเจริญเติบโตโน้มเข้าหาแสง
เพราะพืชส่วนใหญ่ต้องการแสงในการสร้างอาหารนอกจากนี้พืชบางชนิด เช่น
ดอกพุดตานจะเปลี่ยนสีเมื่อได้รับแสงแดดมากหรือน้อยแตกต่างกันใน 1 วัน ดอกคุณนายตื่นสายจะบานเมื่อได้รับแสง
ดอกทานตะวันจะหมุนดอกตามดวงอาทิตย์เพื่อให้ได้รับแสงอย่างเพียงพอ เป็นต้น
o การตอบสนองต่อการสัมผัส
พืชบางชนิดมีการตอบสนองต่อการสัมผัส
เช่น ผักกระเฉด ไมยราบ จะหุบใบเมื่อถูกสัมผัสเพื่อป้องกันอันตราย เป็นต้น
นอกจากนี้ พืชบางชนิดมีการตอบสนองต่อสัมผัส
เพื่อดักจับแมลงเป็นอาหาร เช่น การหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้น
o การตอบสนองต่ออุณหภูมิ
อุณหภูมิของอากาศมีผลต่อการตอบสนองของพืช
เช่น เมื่อถึงฤดูหนาว ต้นไม้บางชนิด เช่น ต้นสัก ต้นรัง จะสลัดใบทิ้ง
เพื่อลดการสูญเสียน้ำ และจะแตกใบใหม่เมื่ออากาศอบอุ่น
2) การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์
สัตว์ต่าง ๆ มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลายประการ
เช่น
o การตอบสนองต่อแสง
สัตว์แต่ละชนิดมีการตอบสนองต่อแสงแตกต่างกัน
สัตว์บางชนิดจะหนีแสง เช่น ไส้เดือนดิน ค้างคาว สัตว์บางชนิดเข้าหาแสง เช่น
แมลงเม่า สัตว์บางชนิดออกหากินในเวลาเช้า และกลับที่อยู่อาศัยในเวลา
เย็น เช่น กา นกกระจอก เป็นต้น
o การตอบสนองต่ออุณหภูมิ
สัตว์แต่ละชนิดมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิแตกต่างกัน
เช่น ในช่วงฤดูหนาวเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง สัตว์บางชนิดจะอพยพย้ายถิ่น เช่น
ฝูงนกนางแอ่นอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิม เพื่อหาแหล่งถิ่นที่อยู่ใหม่ที่อบอุ่นกว่าและอาหารอุดมสมบูรณ์
เมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไป ก็จะบินกลับมายังถิ่นที่อยู่เดิม
- ช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสัตว์บางชนิด
เช่น สุนัขจะระบายความร้อนโดยการหอบหายใจเพื่อให้น้ำระเหยออกมาทางปาก
ส่วนแมวจะเลียอุ้งเท้า เพื่อเป็นการระบายความร้อน
- ช่วงที่มีสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำ
สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู กิ้งก่า จิ้งเหลน เป็นต้น
ต้องอาศัยพลังงานความร้อนจากแสงแดดทำให้ร่างกายอบอุ่น จึงออกมาผึ่งแดด
o การตอบสนองต่อสัมผัส
สัตว์มีการตอบสนองต่อสัมผัสต่างกัน
สัตว์บางชนิด เมื่อถูกสัมผัส จะตอบสนองเพื่อเป็นการป้องกันอันตราย เช่น
กิ้งกือม้วนตัว หอยหดตัวเข้าในเปลือก เต่าหดหัวและขาเข้าในกระดอง
อึ่งอ่างพองตัวให้
ใหญ่ขึ้น ปลาปักเป้าพองตัวให้หนามตั้งขึ้น เป็นต้น
ความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
ใช้จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกหรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้
- ต้นทานตะวันชอบแสง ควรปลูกไว้กลางแจ้ง
- สุนัขจะเห่าคนแปลกหน้า เราจึงเลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้าน
วิดีโอประกอบการสอน
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์
สิ่งเร้ากับการเปลี่ยนแปลง
ประโยชน์ของพืชและสัตว์
พืชและสัตว์มีประโยชน์ต่อคนมากมาย
คนนำพืชและสัตว์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น
- เป็นอาหาร
- สร้างที่อยู่อาศัย
- ทำเครื่องนุ่งห่ม
- ทำยารักษาโรค
เป็นอาหาร อาหารที่คนกินเป็นอาหารได้มาจากพืชและสัตว์ต่าง ๆ
อาหารจากพืช
ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ข้าว ผักคะน้า ดอกแค มันสำปะหลัง มะเขือเทศ เป็นต้น อาหารจากสัตว์ ได้แก่ เนื้อ นม และไข่ของสัตว์ เช่น
เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว นมวัว นมแพะ ไข่ไก่ ไข่เป็ด เป็นต้น
ทำที่อยู่อาศัย
ลำต้นของพืชบางชนิดนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือนได้
เช่น สัก หวาย ไผ่ เป็นต้น
ส่วนพืชบางชนิดใบมีความเหนียวนำมาเย็บติดกันเป็นตับใช้มุงหลังคาได้ เช่น ใบจาก
ใบตองตึง เป็นต้น
ทำเครื่องนุ่งห่ม
เส้นใยจากลำต้นหรือใบพืชบางชนิดนำมาใช้ทอเสื้อผ้าได้
เช่น ฝ้าย ลินิน สับปะรด เป็นต้น ส่วนขน เส้นใย
และหนังของสัตว์บางชนิดใช้ทำเครื่องนุ่งห่มได้ เช่น ขนแกะ ใยไหม หนังวัว เป็นต้น
ทำยารักษาโรค
พืชบางชนิดมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรรักษาโรคต่าง
ๆ เช่น ว่านหางจระเข้ ขิง ข่า ตะไคร้ กะเพรา ขมิ้น เป็นต้น
- มะนาว แก้อาการคันคอขับเสมหะ
- ขิง ลดอาการจุกเสียดท้องไล่ลม
- กระเทียม รักษากลากเกลื้อน
- ตะไคร้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด
- พริกไทย ช่วยการไหลเวียนโลหิต
- หอมแดง แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ ขับลม
- มะกรูด ขับลมในลำไส้ แก้ลม จุกเสียด
- ข่า ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน
- กระชาย เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ
- ใบบัวบก แก้อาการช้ำใน
- มะระขี้นก แก้หวัด แก้ไอ
- ทับทิม ขับพยาธิ รักษาบิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น